โฮมโปร ติดอันดับดัชนีความยั่งยืน DJSI ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 หนึ่งเดียวในกลุ่มธุรกิจ ค้าปลีกสินค้าเรื่องบ้าน

Dow Jones Sustainability Indices ได้ประกาศให้ บริษัท โฮม โปรดักส์
เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) เป็นสมาชิกของ DJSI 2563 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ประเภทดัชนีตลาดเกิดใหม่ Emerging Markets จากการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในระดับสากล

จากความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำในธุรกิจ Home Solution and Living Experience ในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัทฯ ได้ดำเนินการบริหารจัดการธุรกิจอย่างสมดุล 3 ด้านคือ การสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ การสร้างคุณค่าสู่สังคม และการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นเลิศ ภายใต้หลักธรรมาภิบาลมาอย่างต่อเนื่อง ผ่านการพัฒนาสินค้า และบริการ

ในด้านการพัฒนาสินค้า บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญกับการคัดสรรสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน รักษาทรัพยากรธรรมชาติ มีความปลอดภัย และมีมาตราฐานสากลรับรอง เพื่อสนับสนุนการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible Consumption) ให้กับลูกค้า ผ่านกลุ่มสินค้า Eco Product ซึ่งประกอบด้วย 6 กลุ่มสินค้า สินค้ากลุ่มประหยัดพลังงาน สินค้ากลุ่มสุขภาพ และความปลอดภัย สินค้ากลุ่มรักษาป่าไม้ สินค้ากลุ่มเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สินค้ากลุ่มประหยัดน้ำ และสินค้ากลุ่มลดก๊าซเรือนกระจก

ในด้านการพัฒนาการบริการ บริษัทฯ ได้สนับสนุนโครงการเถ้าแก่น้อย ที่มุ่งสร้างความยั่งยืน โดยยกระดับฝีมือช่างให้มีมาตราฐาน และช่วยเหลือคู่ค้า ทางด้านการเงิน อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจ เพื่อช่วยแก้ปัญหาเรื่องบ้าน และส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า รวมถึงการยกระดับฝีมือแรงงานให้ได้มาตราฐานสู่ระดับสากล และสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

“การได้รับเลือกให้เป็นสมาชิก DJSI อย่างต่อเนื่องเป็นเครื่องยืนยันว่ามาตรฐานการพัฒนาด้านความยั่งยืนของบริษัทเทียบเท่ามาตรฐานระดับโลกและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และยังเป็นปัจจัยส่งเสริมการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืนในอนาคต”   ทั้งนี้ DJSI จัดทำขึ้นด้วยความร่วมมือของ S&P Global และ SAM ถือเป็นดัชนีที่ใช้ประเมินประสิทธิผลการดำเนิน ธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัทชั้นนำระดับโลก เพื่อให้มั่นใจว่า บริษัทมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สามารถสร้างผลตอบแทนที่ยั่งยืนให้กับผู้ลงทุน รวมถึงการสร้างคุณค่าระยะยาวให้กับผู้มีส่วนได้เสีย

เนสท์เล่ทุ่ม 4.5 พันล้านบาท ขยายการลงทุน 3 โรงงานในไทย รับดีมานด์พุ่ง พร้อมรุกตลาดอีคอมเมิร์ซ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุคใหม่

เนสท์เล่ เผยกลยุทธ์การลงทุนเพื่อสร้างการเติบโตระยะยาวในประเทศไทย ทุ่มงบกว่า 4,500 ล้านบาท ขยายขีดความสามารถการผลิตใน 3 โรงงาน ในธุรกิจผลิตภัณฑ์เพื่อสัตว์เลี้ยง ผลิตภัณฑ์ไอศกรีม และผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มยูเอชที เสริมความแข็งแกร่งให้พอร์ตโฟลิโอของเนสท์เล่ในการนำเสนอทางเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีและหลากหลายมากยิ่งขึ้นให้ผู้บริโภคชาวไทย โดยชูนวัตกรรมที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและสอดคล้องพันธกิจด้านความยั่งยืนระดับโลกของเนสท์เล่ พร้อมอัดงบประมาณอีก 50 ล้านบาท เสริมทัพธุรกิจดิจิทัล

นายวิคเตอร์ เซียห์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เนสท์เล่ อินโดไชน่า กล่าวว่า “แม้ปีนี้จะเป็นปีที่ท้าทาย แต่เนสท์เล่เชื่อมั่นในศักยภาพของตลาดประเทศไทย และมองเห็นถึงการเติบโตในระยะยาว จึงเดินหน้าขยายการลงทุน ใน 3 โรงงานหลัก ได้แก่ โรงงานอมตะ โรงงานบางชัน และ โรงงานยูเอชที นวนคร7 เพื่อรองรับการเติบโตของตลาดอาหารสัตว์เลี้ยง ไอศกรีม และเครื่องดื่มยูเอชที  โดยนำอินไซต์ของผู้บริโภคชาวไทยมาต่อยอดสู่การวางกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจที่นำนวัตกรรมเข้ามาขับเคลื่อน เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีโภชนาการที่ดี รสชาติอร่อย และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคชาวไทย ควบคู่กับการคำนึงถึงความยั่งยืน สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของเนสท์เล่ในการเปิดพลังแห่งอาหารเพื่อเพิ่มพูนคุณภาพชีวิตที่ดี สำหรับทุกคนในวันนี้และในอนาคต”

จากเทรนด์ผู้บริโภคสู่กลยุทธ์การลงทุนเพื่อการเติบโต

ผลการสำรวจพบว่า ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลง โดยมีความโดดเด่นใน 5 ด้านดังนี้ 1. เลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้นและมองหาผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน 2. ให้รางวัลกับตัวเองด้วยการมองหาของกินเล่นเพื่อช่วยเติมเต็มความสุขระหว่างวัน 3. ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับความคุ้มค่าของสินค้ามากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจมีความท้าทาย 4.ให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อม และ 5. ช่องทาง อีคอมเมิร์ซ และบริการส่งอาหาร (ฟู้ดเดลิเวอรี่) มีการเติบโตสูง เนื่องจากผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการออกไปข้างนอก เนสท์เล่จึงนำอินไซต์เหล่านี้เป็นข้อมูลวางกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจในครั้งนี้

สร้างโรงงานอมตะแห่งใหม่เสริมพอร์ตอาหารสัตว์เลี้ยง

ปัจจุบันมีคนจำนวนมากที่หันมาเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อนคลายเหงามากขึ้น ทำให้ตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงของไทยมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว แม้ในช่วงโควิด-19 ที่หลายครอบครัวเริ่มลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น แต่กำลังซื้อในตลาดสัตว์เลี้ยงยังไม่ตก สอดคล้องกับเทรนด์โลกที่พบว่า ตลาดอาหารสัตว์พรีเมียมมีการขยายตัวสูงเช่นกัน เนื่องจากผู้บริโภคยินดีที่จะจ่ายเงินมากขึ้น เพื่อซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพให้กับสัตว์เลี้ยงของตัวเอง เนสท์เล่จึงใช้งบลงทุน 2,550 ล้านบาท สร้างโรงงานแห่งใหม่ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิต และเสริมพอร์ตโฟลิโอธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงของเนสท์เล่ให้แข็งแกร่งขึ้น โดยโรงงานแห่งใหม่ มีกำหนดเริ่มเดินสายการผลิตในช่วงกลางปี 2564

ขยายไลน์การผลิตโรงงานบางชัน นำเสนอนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สู่ตลาด

โรงงานบางชัน เป็นโรงงานผลิตไอศกรีมของเนสท์เล่ เพื่อตอบเทรนด์ผู้บริโภคชาวไทยในปัจจุบันที่ให้รางวัลกับตัวเองด้วยการมองหาของกินเล่นเพื่อช่วยเติมเต็มความสุขระหว่างวัน เนสท์เล่จึงสร้างความแปลกใหม่ให้ตลาดไอศกรีมอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีความหลากหลายมากขึ้น เช่น ไอศกรีมโมจิ ที่นำเทรนด์จากเกาหลีและญี่ปุ่นมาเปิดตลาดในไทยเป็นแบรนด์แรกและได้รับการตอบรับที่ดีมาก รวมถึง ไอศกรีมคิทแคท และโอริโอ พร้อมริเริ่มนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ไอศกรีมเนสท์เล่ เอ็กซ์ตรีม นามะ ที่ทำจากกระดาษเป็นครั้งแรกของไทยและสามารถรีไซเคิลได้ ทำให้ยอดขายไอศกรีมเนสท์เล่มีการเติบโตในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราจึงจัดสรรงบประมาณ 440 ล้านบาท เพิ่มไลน์การผลิตของโรงงานบางชัน เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา

สร้างโรงงานยูเอชทีแห่งใหม่ ส่งต่อผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพและบรรจุภัณฑ์ที่ดีต่อโลก

โรงงานยูเอชที นวนคร7 เป็นโรงงานผลิตเครื่องดื่มยูเอชที ได้แก่ ไมโล และ นมตราหมี ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจหลักที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากผลวิจัยของนีลเส็น (Nielsen) พบว่า เครื่องดื่มนมวัวยูเอชทีและเครื่องดื่มช็อกโกแลตมอลต์ยูเอชที จะมีการเติบโตถึง 3% ใน 3 ปีข้างหน้า สะท้อนให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพและพกพาสะดวกเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคชาวไทยมองหา เนสท์เล่จึงเดินหน้าสร้างโรงงานยูเอชทีแห่งใหม่ด้วยงบประมาณ 1,530 ล้านบาท และเริ่มการผลิตเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ชูเทคโนโลยีล้ำสมัย พร้อมตอบโจทย์ผู้บริโภคสายรักษ์โลก ด้วยการนำเสนอนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อย่าง ไมโล ยูเอชที หลอดกระดาษแบบงอได้ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีการนำหลอดกระดาษมาใช้ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ยูเอชทีของไทย  และตั้งเป้าลดการใช้หลอดพลาสติกได้มากกว่า 500 ล้านหลอดในปี 2564

นอกจากนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่สอดคล้องกับพันธกิจด้านความยั่งยืนระดับโลกที่ต้องการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดให้สามารถรีไซเคิลหรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้ภายในปี 2568 โรงงานทั้ง 3 แห่งยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตั้งแต่กระบวนการผลิต ได้แก่ ลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ลดการใช้พลังงานและน้ำ ตลอดจนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และไม่เหลือขยะหรือของเสียไปที่หลุมฝังกลบ

นอกจากนั้น เนสท์เล่ยังได้ลงทุนในการทำให้สายการผลิตทำงานด้วยระบบดิจิทัลมากขึ้นด้วยการติดตั้งอุปกรณ์กล้องดิจิทัลเพื่อใช้ตรวจสอบและควบคุมไลน์การผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ป้องกันความผิดพลาด และสามารถควบคุมคุณภาพได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ สามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพไปยังผู้บริโภค

ล้ำหน้าด้วยเทคโนโลยี และเดินหน้ารุกตลาดอีคอมเมิร์ซ (e-Commerce)

ในส่วนของอีคอมเมิร์ซ ก่อนหน้าที่จะเกิดโควิด-19 ประเทศไทยคาดการณ์อัตราการเติบโตของอีคอมเมิร์ซอยู่ที่ 30% แต่ช่วงที่เกิดโควิด-19 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมีการเติบโตเพิ่มขึ้นมากกว่านั้นอีก เนื่องจากผู้บริโภคหันมาช้อปของใช้ในบ้านและสั่งอาหารออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้ในปี 2563 ยอดขายออนไลน์ของเนสท์เล่โตกว่าเป้าที่ตั้งไว้ถึง 2 เท่า “เพื่อตอบรับเทรนด์ดิจิทัลที่มาแรง เนสท์เล่ได้ตั้งทีมอีบิสซิเนสขึ้นตั้งแต่ปี 2561 นับตั้งแต่นั้นมา เรามีการลงทุนทั้งด้านระบบและบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเรามีทีมงานเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่า และในปีนี้ได้จัดงบลงทุนใน อีบิสซิเนส 50 ล้านบาท เพื่อจัดหาเครื่องมือที่ดีที่สุด รวมทั้งร่วมมือกับพาร์ทเนอร์จัดการอบรมเพื่อให้ก้าวทันกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พร้อมลงทุนในการสร้างเทคโนโลยีด้านการตลาดโฆษณา และระบบการจัดการข้อมูลของเราเอง เพื่อนำเสนอสินค้า บริการ และพัฒนาการสื่อสารที่ตอบโจทย์กับความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง” นายวิคเตอร์ กล่าวทิ้งท้าย

4 องค์กร (วว. สวทช. สมอ. และ CNCH) ร่วมผลักดันอุตฯ ขนส่งและโลจิสติกส์สุดตัวหวังนำอุตสาหกรรมไทยให้ทันโลก

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  ร่วมกับ บริษัท โชคนำชัย ไฮ-เทค เพรสซิ่ง จำกัด   และสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามบันทึกข้อตกลงบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐและผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ไทย ให้สามารถพัฒนาชิ้นส่วน/ผลิตภัณฑ์ได้เองในประเทศ ผ่านการทดสอบและได้รับการรับรองคุณภาพได้ตามมาตรฐานสากล มุ่งเน้นผลิตในอุตสาหกรรมรถยนต์ขนส่งสินค้า รถบัส รถไฟ  ตลอดจนผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์สมัยใหม่ทั้งทางบก ทางราง และทางน้ำ ตั้งเป้าโปรเจกต์แรกเตรียมผลิต “รถไฟพร้อมตู้โดยสาร” แบรนด์ของคนไทยที่มีมาตรฐานความปลอดภัยเทียบเท่าระดับสากล หวังช่วยลดการนำเข้า ส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

นายนำชัย สกุลฎ์โชคนำชัย ประธานกรรมการ บริษัท โชคนำชัย กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า วันนี้เราในฐานะเอกชนที่พร้อมทางด้าน Technology ต่าง ๆ และได้เริ่มพัฒนานวัตกรรมด้านขนส่งที่ก้าวข้ามการทดลองในระดับต้นแบบ เป็นผลิตภัณฑ์จริงลงสู่ตลาดหลายรายการ เช่น เรือนวัตกรรมอลูมิเนียมเครื่องยนต์, เรือไฟฟ้าท่องเที่ยววิ่งทะเลลำแรกของไทย, รถมินิบัสตัวถังอลูมิเนียมคันเดียวในตลาดโลกที่ผลิตและประกอบในสายการผลิตหุ่นยนต์, ต้นแบบรถเมล์ไฟฟ้าที่เป็นโครงการร่วมระหว่าง กฟน., กฟผ. กฟภ. ขสมก. และสวทช. รวมถึงโครงการพัฒนารถไฟโดยสารระบบไฮบริดดีเซล เป็นต้น

จากประสบการณ์ การจะทำผลิตภัณฑ์ในระดับอุตสาหกรรมให้สามารถขายในตลาดสากลได้นั้น มีข้อจำกัดคือ ส่วนใหญ่ประเทศเรายังไม่ได้ผลิตเองตั้งแต่ R&D มีแค่เริ่มต้นจากการรับ Drawing หรือแบบมาจากต่างประเทศมาผลิตชิ้นส่วน ดังนั้นเราจะมีมาตรฐานหรือการทดสอบเน้นไปที่ชิ้นส่วนย่อยที่เป็นส่วนประกอบเท่านั้น แต่หากจะพัฒนาไปในทิศทางที่สามารถมี Brand เป็นของตัวเองได้ จะต้องเริ่มตั้งแต่การกำหนดคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์, การออกแบบทางด้านวิศวกรรมเต็มรูปแบบ, การพัฒนาแม่พิมพ์และชิ้นส่วน, การใช้วัสดุสมัยใหม่, การประกอบผลิตแบบอุตสาหกรรม, ระบบ System integration, การทดสอบชิ้นส่วนหลัก และตัวผลิตภัณฑ์ให้ผ่านการรับรองโดยสถาบันไทยให้ได้ตามมาตรฐานสากล ซึ่งการลงนามครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่หน่วยงานหลักที่มีบทบาทสำคัญอย่าง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นผู้นำในการผลักดันและปลดล็อคข้อจำกัดที่กล่าวมา

ทางด้าน ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. ชี้แจงว่า การลงนามความร่วมมือระหว่าง 3 หน่วยงานในครั้งนี้ เป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ-เอกชนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสนับสนุนนโยบายด้านขนส่งและโลจิสติกส์ของประเทศ ให้เกิดการพัฒนาชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ที่ผลิต ทดสอบ และรับรอง คุณภาพตามมาตรฐานสากล ลดการนำเข้าและส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยมีระยะเวลาความร่วมมือ 3 ปี

เป้าหมายแรกในการดำเนินงานร่วมกันของทั้ง 3 หน่วยงาน คือ การร่วมมือในการผลักดันให้เกิดการผลิตรถไฟพร้อมตู้โดยสารที่เป็นแบรนด์ของคนไทยเป็นครั้งแรก โดยจะเป็นรถไฟสำหรับการเดินทางระหว่างเมืองของประชาชนและนักท่องเที่ยว ซึ่งขบวนรถไฟดังกล่าวต้องมีมาตรฐานคุณภาพความปลอดภัยเทียบเท่าระดับสากล ผ่านการทดสอบและการรับรองโดยหน่วยงานรัฐจากทั้ง 2 หน่วยงาน ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างรากฐานที่สำคัญให้แก่อุตสาหกรรมขนส่งและ โลจิสติกส์ไทยในการผลิตชิ้นส่วนทดแทนการนำเข้าแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้ระบบขนส่งและโลจิสติกส์ของประเทศไทยมีความยั่งยืน” ผู้ว่าการ วว. กล่าวเพิ่มเติม

สำหรับบทบาทสำคัญของหน่วยงานทั้งสาม จะดำเนินงานสนับสนุนงานเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม  ดังนี้

วว. พร้อมสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมโดยใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาช่วยเสริมความแข็งแกร่ง ทั้งด้านการพัฒนามาตรฐาน การทดสอบและการรับรอง รวมถึงการต่อยอดการวิจัยพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดย วว. มีศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง หรือ ศทร. ที่ได้รับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 : 2017   ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางของประเทศไทยในด้านการทดสอบวัสดุชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ระบบขนส่งและโลจิสติกส์ เช่น ยานยนต์และระบบราง เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ ซึ่งนับว่าเป็นหน่วยงานชั้นนำในภูมิภาคอาเซียน

 บริษัท โชคนำชัย ไฮ-เทค เพรสซิ่ง จำกัด เป็นบริษัทคนไทยที่มีเทคโนโลยีชั้นสูงในการประกอบการด้านอุตสาหกรรมรถยนต์ ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ให้แก่ค่ายรถยนต์ชั้นนําทั้งในและต่างประเทศ บริษัทฯ ยังมีผลงานโดดเด่นในการสร้างผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ให้แก่อุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ไทย บริษัทฯ พร้อมรับนโยบายในการพัฒนาการสร้างนวัตกรรมด้านการขนส่งสาธารณะ ซึ่งต้องอาศัยการสนับสนุนจากภาครัฐ

สวทช.   สนับสนับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ สนับสนุนกลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยี สนับสนุนบุคลากรร่วมจัดทำมาตรฐาน การทดสอบ และการรับรองผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการจัดทำข้อเสนอโครงการเพื่อรับทุนจากหน่วยงานภายนอก

ด้าน ดร.จุลเทพ ขจรไชยกุล ผู้อานวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยว่า สวทช. ให้ความสำคัญกับการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะมาโดยตลอดระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่การออกแบบ วิจัยวัสดุ การขึ้นรูป ชิ้นส่วนยานยนต์ การออกแบบโครงสร้างยานยนต์ และการใช้ระบบอัตโนมัติมาช่วยในการผลิต เพื่อการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีจากยานยนต์พลังงานฟอสซิลไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า โดยที่ผ่านมา สวทช. ได้ดำเนินงานวิจัยและพัฒนาในหลายด้าน อาทิ การพัฒนาแบตเตอรี่ มอเตอร์และระบบควบคุม ระบบวีซียู โครงสร้างน้ำหนักเบา สถานีอัดประจุ หรือแม้แต่การนำระบบ IoT และ IT ที่เข้ามาช่วยเหลือในการบริหารจัดการพลังงานและการผลิต ตลอดจนการร่วมทำมาตรฐานกับ สมอ. การพัฒนากำลังคนร่วมกับภาคการศึกษาเพื่อเตรียมพร้อมรองรับความต้องการกำลังคนด้านยานพาหนะพลังงานไฟฟ้า การลงทุนด้านการทดสอบแบตเตอรี่และชิ้นส่วนทางไฟฟ้า ซึ่ง สวทช. มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ร่วมมือกับทั้ง 3 หน่วยงานเพื่อผลักดันให้อุตสาหกรรมไทยสามารถผลิตยานพาหนะพลังงานสะอาด ที่สามารถแข่งขันได้ทั้งในและต่างประเทศ

จีเอสเค และเมดิคาโก ประกาศเริ่มทดลองวัคซีนโควิด-19 ในระยะที่ 2/3

จีเอสเค ร่วมกับ เมดิคาโก บริษัทด้านชีวเภสัชภัณฑ์ที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองควิเบก ประเทศแคนาดา ประกาศเริ่มการทดลองวัคซีน CoVLP ซึ่งเป็นวัคซีนทดลองโควิด-19 ที่ผลิตจากพืช ในระยะที่ 2/3 ภายหลังจากที่ผลการทดลองในระยะที่ 1 มีผลที่น่าพึงพอใจ เพื่อประเมินผลด้านประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน รวมทั้งจะใส่สารเสริมฤทธิ์ชนิด Pandemic Adjuvant ของจีเอสเค เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของวัคซีน

นาตาลี แลนดรีย์ รองประธานบริหารด้านกิจการทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ของเมดิคาโก กล่าวว่า “การทดลองระยะที่ 1 ของวัคซีน CoVLP ที่ใส่สารเสริมฤทธิ์ มีผลที่น่าพอใจ ทำให้เรามีความมั่นใจในการทดลองในระยะต่อไปอย่างเต็มที่”

นายแพทย์โธมัส บริวเออร์ ประธานเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ จีเอสเค วัคซีน กล่าวว่า “ในบรรดาวัคซีนทดลองโควิด-19 ที่จีเอสเคมีส่วนร่วมในการพัฒนากับหลายองค์กร วัคซีนของเมดิคาโกเป็นวัคซีนตัวแรกที่เริ่มทดลองในมนุษย์ในระยะที่ 2/3 นับเป็นก้าวที่สำคัญของเราในการต่อสู้กับโรคระบาดครั้งใหญ่นี้ เราดีใจอย่างยิ่งที่ผลการทดลองในระยะที่ 1 มีผลตอบรับที่ดี การใส่สารเสริมฤทธิ์ของจีเอสเคในวัคซีนทดลองโควิด-19 จะช่วยผลิตวัคซีนในปริมาณที่มากขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน ทำให้เรามั่นใจว่า เราสามารถพัฒนาและส่งมอบวัคซีนที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัยได้จากความร่วมมือกับเมดิคาโกในครั้งนี้”

วัคซีน CoVLP ผลิตขึ้นด้วยโปรตีน S-spike ที่สามารถประกอบตัวเองเป็นอนุภาคคล้ายไวรัส (VLP) โดยการทดลองระยะที่ 1 เป็นการศึกษาเพื่อยืนยันสูตรและปริมาณที่เลือกใช้สำหรับวัคซีน CoVLP (วัคซีน CoVLP ที่ใส่สารเสริมฤทธิ์ pandemic adjuvant ในปริมาณ 3.75 ไมโครกรัม จำนวน 2 โดส เว้นระยะห่าง 21 วัน) ให้ผลในการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน และแสดงข้อมูลด้านความปลอดภัยเป็นที่น่าพอใจ โดยทดลองกับผู้ที่มีสุขภาพดี อายุระหว่าง 18-74 ปี และผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป

การทดลองระยะที่ 2 เป็นการศึกษาควบคุมด้วยยาหลอก เพื่อประเมินผลด้านความปลอดภัยและการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของวัคซีนทดลองโควิด-19 ที่ใช้พืชเป็นหลัก โดยได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยา (FDA) ซึ่งจะทดลองกับกลุ่มประชากรที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในหลายพื้นที่ในแคนาดา และสหรัฐอเมริกา แบ่งเป็นกลุ่มประชากรวัยผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี อายุระหว่าง 18-64 ปี และผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป แต่ละกลุ่มอายุประกอบด้วยผู้รับการทดลองกว่า 300 ราย โดยการสุ่มตัวอย่างในอัตรา 5:1 คือ วัคซีน CoVLP ที่เติมสารเสริมฤทธิ์ : ยาหลอก (placebo) และโดยการแบ่งตามกลุ่มในอัตรา 2:1 คือ กลุ่มผู้สูงอายุ ระหว่าง 65-74 ปี : กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 75 ปี โดยมีการติดตามผลอาการของผู้รับการทดลองทุกคนเป็นเวลา 12 เดือนหลังการฉีดวัคซีนครั้งสุดท้าย เพื่อประเมินผลด้านความปลอดภัยและความทนทานของการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของวัคซีนทดลองชนิดนี้

การทดลองระยะที่ 3 จะเริ่มภายในสิ้นปี 2563 และเป็นการทดลองที่ควบคุมด้วยยาหลอกแบบอำพรางโดยสุ่มตัวอย่างและตามอาการ เพื่อไม่ให้นักวิจัยและอาสาสมัครเกิดอคติในการแปลผลอาการข้างเคียงต่าง ๆ ของวัคซีน ทำให้สามารถประเมินผลด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยของสูตรวัคซีน CoVLP โดยเปรียบเทียบกับยาหลอก ในผู้รับการทดลองกว่า 30,000 รายในทวีปอเมริกาเหนือ ลาตินอเมริกา และ/หรือยุโรป ในจำนวนประชากรที่เท่า ๆ กัน หรือมากกว่า ซึ่งต้องรอการอนุมัติจากหน่วยงานที่รับผิดชอบและดูแลด้านกฎหมาย

แม็คโคร ยืนหนึ่งศูนย์รวมเนื้อวัวคุณภาพจากทั่วโลกรับตลาดคนรักเนื้อ (Beef Lover) โตไม่หยุด ชูคุณภาพ ความหลากหลายมีทุกระดับราคา ตอบทุกโจทย์ผู้ประกอบการ ตัวจริงสายเนื้อ

บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน)  ประกาศเป็นผู้นำด้านการจำหน่ายเนื้อวัวพรีเมียมจากทั่วโลก  รวมถึงเนื้อคุณภาพดีจากไทยที่กำลังเป็นที่นิยม ฮิตติดไอเท็มเด็ดในหมู่นักกินสายเนื้อ เน้นวาง โพสิชั่นนิ่งหลากหลาย ตอบทุกโจทย์ ผู้ประกอบการร้านอาหาร แฟนพันธุ์แท้ยุคนิวนอร์มอล กระตุ้นตลาดคนรักเนื้อ (Beef Lover) โตไม่หยุด

นางศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า  ปัจจุบันกระแสความนิยมในการบริโภคเนื้อวัวของคนไทยมีการเติบโตอย่างมีนัยยะสำคัญ ทั้งจากกลุ่มที่ติดใจในรสชาติ ความนุ่ม ของเนื้อวัวพรีเมียมที่เข้ามาสร้างอิทธิพลให้กลุ่มคนที่เป็นแฟนพันธุ์แท้เนื้อวัว ตลอดจนกระแสปิ้งย่าง ชาบู มาแรงมากเสียจนร้านอาหารระดับกลางและเล็ก หรือกลุ่ม  สตรีทฟู้ดพากันหันมาสร้างสรรค์เมนูพิเศษจากเนื้อเพื่อเป็นจุดขาย  แม็คโครเล็งเห็นการเติบโตดังกล่าวโดยทำหน้าที่คัดสรรเนื้อวัวคุณภาพจากทุกภูมิภาคของประเทศไทย และนำเข้าจากทั่วทุกมุมโลก มาจำหน่ายมุ่งเน้นความหลากหลายและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ

“ตลาดเนื้อวัวพรีเมียมในปัจจุบันมีการตอบรับดีมากเห็นการเติบโตอย่างชัดเจนจากกลุ่มโฮเรก้าที่นิยมสั่งเนื้อคุณภาพดีไปสร้างสรรค์เมนูอาหารเพื่อเป็นจุดขาย ซึ่งมีหลายระดับราคาเริ่มตั้งแต่ราคา 200 บาทต่อกิโลกรัมจนถึงระดับเนื้อวากิวคุณภาพเกรดพรีเมียมราคากว่า 10,000 บาทต่อกิโลกรัม นอกจากนี้ด้วยกระแสในโซเชียลมีเดีย ที่มีการแชร์สินค้าเนื้อวัวคุณภาพดีจากแม็คโครจนเกิดกระแสตอบรับเป็นอย่างสูง  ทำให้กลุ่มคนรักเนื้อ (Beef Lover)  ที่เป็นลูกค้าทั่วไปตอบรับและมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ที่คนอยู่กับบ้านมากขึ้นทำอาหารทานมากขึ้น ส่งผลให้แม็คโคร กลายเป็นจุดหมายในการซื้อเนื้อวัวคุณภาพดี ที่มีความหลากหลาย ครบครันทุกความต้องการ”

ด้าน นางสาวธีราพร ธีรทีป  ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารสินค้าอาหารสด กล่าวเสริมว่า “แม็คโครมีความหลากหลายของเนื้อวัวคุณภาพที่นำเข้าจากต่างประเทศและในประเทศ รวมแล้ว  7 ประเทศ ทั้ง เนื้อวัวไทย, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, ญี่ปุ่น, สหรัฐอเมริกา, บราซิล, อาร์เจนติน่า  มีสินค้ามากกว่า 1,000 รายการ แบ่งเป็นชิ้นส่วนต่างๆ  อาทิ สันใน สันนอก สันแหลม ทีโบน สันคอ สะโพก ลูกมะพร้าว รวมถึงกลุ่มเครื่องใน ตลอดจนเนื้อที่ผ่านการแปรรูปสำหรับทำแฮมเบอร์เกอร์ ไส้กรอก ฯลฯ  ตอบทุกโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการร้านอาหาร ซึ่งแม็คโครมีส่วนแบ่งตลาดเนื้อวัวสำหรับไฮเปอร์มาร์เก็ตประมาณ 93%

นอกจากนี้ แม็คโครได้ให้การสนับสนุนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนไทยกว่า 5,000 ครัวเรือน พร้อมร่วมยกระดับการเลี้ยง การผลิตสู่ตลาดสากล และได้รับการยอมรับในแง่ของรสชาติและความอร่อย  ล่าสุดได้ร่วมมือกับกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคขุนในหลายจังหวัดทั่วประเทศ พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ พร้อมปั้นแบรนด์เนื้อเกรดพรีเมียม Pro Butcher  ซึ่งจะมีการจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการตลาด ภายใต้ชื่อ “แม็คโคร แหล่งรวมเนื้อคุณภาพ (Beef Destination)” เพื่อให้ลูกค้าทุกกลุ่มเข้าถึงเนื้อวัวพรีเมียมคุณภาพดีราคาเข้าถึงง่าย  ที่แผนกอาหารสด แม็คโครทุกสาขาทั่วประเทศ

ทั้งนี้ แม็คโครเริ่มเปิดตลาดเนื้อพรีเมียม ตั้งแต่ได้ร่วมพัฒนาเนื้อโคขุนไทยแองกัส และไทย วากิว ที่มีลายไขมันแทรก MS4+, MS5+ ซึ่งเป็นเนื้อคุณภาพดี และมีไขมันที่แทรกในเนื้อ (Marbling Score) เป็นที่นิยม จนกระทั่งเกิดการต่อยอดไปสู่เนื้อนำเข้าจากหลากหลายประเทศ   ขณะที่กระแสความนิยมในการบริโภคเนื้อวัวของคนไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีอัตราการบริโภคเฉลี่ย 2.7 กิโลกรัมต่อคนต่อปี มีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 4 หมื่นล้านบาทต่อปี

3 ทีมแชมป์คว้าชัย “ไมโล ฟุตซอล 2020 พลังทักษะ สร้างทีมแกร่ง”

ผลิตภัณฑ์ไมโล นำโดย นายวิคเตอร์ เซียห์ (ขวา) ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เนสท์เล่ อินโดไชน่า พร้อมด้วย นายไชยงค์ สกุลบริรักษ์ (ซ้าย) ผู้อำนวยการบริหารธุรกิจผลิตภัณฑ์นมและโภชนาการ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด และตัวแทนทีมแชมป์ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ “ไมโล ฟุตซอล 2020 พลังทักษะ สร้างทีมแกร่ง”  ที่จัดขึ้นเพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นของไมโล ในการสนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้และเติบโตสู่ความสำเร็จด้วยกีฬา เพราะกีฬาคือครูชีวิต โดยทีมชนะเลิศทั้ง 3 รุ่น ได้แก่ รุ่นอายุ 7-8 ปี ทีมโรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญาในพระอุปถัมภ์ฯ จังหวัดภูเก็ต รุ่นอายุ 9-10 ปี ทีมโรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญาในพระอุปถัมภ์ฯ จังหวัดภูเก็ต และรุ่นอายุ 11-12 ปี ทีมวัดกู้ A จังหวัดนนทบุรี คว้าถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมทุนการศึกษาไปครองได้สำเร็จ

BAFS Continues to Develop New Lines of Business to Increase Revenue

Bangkok Aviation Fuel Services PCL (BAFS) decreased its net loss in the third quarter of 2020. The company is emphasizing its business continuity plan and cost control initiatives while accelerating the development of new business lines to increase revenue during the COVID-19 pandemic.

Mr. Prakobkiat Ninnad, President of Bangkok Aviation Fuel Services PCL (BAFS), disclosed the company’s performance in the third quarter of 2020, noting the company delivered a net loss of 179.60 million baht, an improvement from a net loss of 228 million baht in the second quarter of 2020, due to an increase in the volume of aviation fuel following an easing in COVID-19 control measures.

“BAFS will continue to take precautionary measures in our operations while reducing operating costs adhering to strict expense control measures to maintain liquidity. The company is also prioritizing investments that can generate immediate cash flow while looking for new business lines to increase the ratio of our income both in related businesses and by investing in new businesses in domestic and international alternative energy and environmental projects. This is in keeping with BAFS’ five-year growth strategy which aims to increase the percentage of income to 50% for the aviation refueling business and 50% in other businesses supporting the company’s continued and sustainable growth,” said Mr. Prakobkiat.

Among the initiatives underway, BAFS Clean Energy Corporation Company Limited is planning to invest in an alternative energy business in line with the company group’s business strategy. Additionally, Fuel Pipeline Transportation Limited (FPT) is implementing an expansion project in the northern fuel pipeline transportation system to Lampang depot; Thai Aviation Refueling Company Limited (TARCO) is operating a hydrant pipeline networking project as part of a development project for Suvarnabhumi Airport Phase 2; BAFS Innovation Development Company Limited (BID) is providing information technology services to public agencies; and BAFS INTECH Company Limited is exporting aircraft refueling vehicles and equipment to Lao PDR and Myanmar in addition to conducting negotiations on business expansion details of which should be provided at the beginning of 2021 to generate new income for BAFS in the future as planned.

บาฟส์ เดินหน้าขยายไลน์ธุรกิจใหม่ สร้างรายได้เพิ่ม

บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บาฟส์ มีผลขาดทุนสุทธิไตรมาส 3/2563 ลดลง มุ่งเน้นแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจและมาตรการควบคุมค่าใช้จ่าย พร้อมเร่งขยายฐานธุรกิจใหม่เพิ่มรายได้เสริมแกร่งในช่วงโควิด-19

นายประกอบเกียรติ นินนาท กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บาฟส์ เปิดเผยถึงผลการดำเนินการของบริษัทฯ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ว่า บริษัทฯ มีผลขาดทุนสุทธิ 179.60 ล้านบาท ลดลงจากผลขาดทุนสุทธิจำนวน 228 ล้านบาทในไตรมาส 2/2563 โดยเป็นผลจากปริมาณน้ำมันอากาศยานเพิ่มสูงขึ้นกว่าไตรมาส 2 ที่ผ่านมาตามการผ่อนคลายมาตรการป้องกันโรคโควิด-19

“บาฟส์ยังคงมุ่งดำเนินธุรกิจอย่างระมัดระวังและปรับลดต้นทุนในการดำเนินงานตามมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างเข้มงวดเพื่อรักษาสภาพคล่อง รวมทั้งการให้ความสำคัญในการลงทุนที่สามารถสร้างกระแสเงินสดได้ทันที พร้อมมองหาธุรกิจใหม่เพื่อเพิ่มสัดส่วนรายได้ของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องและธุรกิจใหม่เพื่อลงทุนในโครงการพลังงานทดแทนและสิ่งแวดล้อมทั้งในและต่างประเทศ ตามแผนยุทธศาสตร์การเติบโต 5 ปีของบริษัทฯ ในการเพิ่มสัดส่วนรายได้เป็นธุรกิจบริการเติมน้ำมันอากาศยาน 50% และธุรกิจอื่น ๆ 50 % เพื่อสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจอย่างต่อเนื่องอย่างยั่งยืน” นายประกอบเกียรติ กล่าว

ล่าสุด บริษัท บาฟส์ คลีน เอนเนอร์ยี่ คอร์เปอเรชั่น จํากัด บริษัทย่อย มีแผนที่จะลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทนซึ่งเป็นไปตามกลยุทธ์ของกลุ่มบริษัทฯ ขณะที่ บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด กำลังดำเนินโครงการขยายระบบท่อขนส่งน้ำมันสายเหนือไปยังคลังน้ำมันจังหวัดลำปาง บริษัท ไทยเชื้อเพลิงการบิน จำกัด กำลังดำเนินโครงการวางท่อระบบ hydrant ในโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เฟส 2 บริษัท บาฟส์ อินโนเวชั่น ดิเวลลอปเม้นท์ จำกัด ได้ให้บริการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแก่หน่วยงานภาครัฐ บริษัท บาฟส์ อินเทค จำกัด ได้ส่งออกรถเติมน้ำมันอากาศยานและอุปกรณ์ให้บริการภาคพื้นอากาศยานไปที่ สปป.ลาว และเมียนมาร์ พร้อมทั้งการเจรจากับต่างประเทศในการขยายธุรกิจ ซึ่งคาดว่าจะเห็นความชัดเจนภายในต้นปี 2564 ซึ่งจะเป็นการเสริมรายได้ใหม่ให้กับบาฟส์ในอนาคตตามแผน

Taste of Nont, Best of Thai “ของดีเมืองนนท์ สู่สากล”

นนทบุรี ยกขบวนสินค้าดี สินค้าเด่น  Taste of Nont, Best of Thai “ของดีเมืองนนท์ สู่สากล” 18 – 23 พ.ย. 63  ณ ซีคอน บางแค กรุงเทพมหานคร

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 เวลา 14.00 น. นายอภิชัย อร่ามศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน Taste of Nont, Best of Thai “ของดีเมืองนนท์ สู่สากล” โดยมี นางสาวอโรชา นันทมนตรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ประธานหอการค้าจังหวัดนนทบุรี กรรมการผู้จัดการบริษัทประชารัฐรักสามัคคีนนทบุรี วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ประธานอุตสาหกรรมจังหวัดนนทบุรี ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนนทบุรี  หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนนทบุรี  นายอำเภอทุกอำเภอ  ผู้แทนภาคเอกชน สื่อมวลชน และประชาชนผู้สนใจร่วมงานกันอย่างคับคั่ง โดยมีนางรักใจ กาญจนะวีระ พัฒนาการจังหวัดนนทบุรี กล่าววัตถุประสงค์ของการจัดงาน ณ ลานหน้าโรบินสัน ชั้น 1 ซีคอน บางแค กรุงเทพมหานคร

 รองผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี กล่าวว่า ด้วยศักยภาพของจังหวัดนนทบุรี โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนนทบุรีดำเนินการจัดกิจกรรม Taste of Nont, Best of Thai “ของดีเมืองนนท์ สู่สากล” เพื่อนำสินค้าOTOP ๓ – ๕ ดาว OTOP ขึ้นเครื่อง และบริการที่แสดงถึงอัตลักษณ์และมีคุณภาพของจังหวัดนนทบุรีเผยแพร่ สู่สาธารนชน ให้นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปได้รับรู้รับทราบ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการกระตุ้นการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งก่อให้เกิดกระแสการท่องเที่ยว การซื้อสินค้า และบริการ ทั้งในระดับจังหวัดและระดับภูมิภาค เป็นการกระจายรายได้สู่ภาคประชาชน

 ขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่มีส่วนร่วมในการผลักดันให้เกิดกิจกรรมในครั้งนี้ ซึ่งถือเป็นโอกาสดีที่จะช่วยสร้างรายได้ให้แก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP และช่วยยกระดับของดีของจังหวัดนนทบุรี ให้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป อันจะนำไปสู่ชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจฐานรากมั่นคงอย่างยั่งยืน

ด้าน นางรักใจ กาญจนะวีระ พัฒนาการจังหวัดนนทบุรี กล่าวว่า การจัดงาน Taste of Nont, Best of Thai “ของดีเมืองนนท์ สู่สากล” ครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าต่างๆ ของดีจังหวัดนนทบุรี และช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่น และชุมชน ซึ่งมีผู้ประกอบการ OTOP ๓ -๕ ดาว OTOP ขึ้นเครื่องและผู้ประกอบการอื่นๆ เข้าร่วมโครงการกว่า 60 ราย มีผลิตภัณฑ์มากกว่า 150 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งล้วนเป็นสินค้าของดีที่ผ่านการคัดสรรแล้วจากจังหวัดนนทบุรี โดยภายในงานจะมีสินค้าหลากหลายประเภท อาทิ OTOP ชวนชิม เชิญลิ้มลองขนมไทยดั้งเดิม “แม่ซ่อนกลิ่น ปลากริมไข่เต่า” ข้าวแช่โบราณป้าเฉลียว ซึ่งเป็นตำรับพื้นบ้านอาหารของชาวมอญ ที่หาทานได้ยากในปัจจุบัน พร้อมทั้งอาหารขึ้นชื่อของจังหวัดนนทบุรีนำมาให้ทุกท่านได้ลิ้มลอง นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทเสื้อผ้า ของใช้ ของตกแต่ง และสมุนไพรอีกมากมายหลากหลายผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องเงิน เครื่องประดับสุดแสนประณีตจากร้าน “ศิลป์สุวรรณภูมิ” เครื่องหนังแท้คุณภาพดีจากแบรนด์ “ธัญสุดา” เครื่องปั้นดินเผาลายวิจิตร จากดินแดนกลางแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างเกาะเกร็ด ที่ยังคงอนุรักษ์หัตถศิลป์เครื่องปั้นดินเผาไว้ไม่ให้สูญหายไป พร้อมทั้งกิจกรรมมากมาย อาทิ การแสดงมินิคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดัง ตรี ชัยณรงค์ และเต๋า ภูศิลป์ มาสร้างความเพลิดเพลินให้กับผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมงาน และการแสดงศิลปวัฒนธรรมสลับกันทุกวัน สำหรับผู้ที่ชื่นชอบในการทำอาหารห้ามพลาดเพราะ เชฟบุค จากรายการ Foodwork จะมารังสรรเมนูอาหารจากวัตถุดิบท้องถิ่นของจังหวัดนนทบุรีให้ทุกท่านได้ชม เป็นต้น

โอกาสนี้ ขอเชิญชวนพี่น้องชาวจังหวัดกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และพื้นที่ใกล้เคียงมาเที่ยวชม ชิม ช้อป แชะ กับกิจกรรมและสินค้าคุณภาพภายในงาน Taste of Nont, Best of Thai “ของดีเมืองนนท์ สู่สากล” ซึ่งจัดโดย สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนนทบุรี  โดยสามารถเยี่ยมชมและอุดหนุนสินค้า OTOP ที่ผ่านการคัดสรรแล้ว ในระหว่างวันที่ 18 – 23 พฤศจิกายน 2563 ตั้งแต่เวลา 10.00 – 21.00 น.  ณ ลานหน้าโรบินสัน ชั้น 1 ซีคอน บางแค นอกจากนี้ ยังสามารถเลือกชมและซื้อสินค้าที่มาจำหน่ายภายในงานได้ผ่านช่องทางออนไลน์ในแอปพลิเคชั่น Shopee ได้อีกช่องทางหนึ่งด้วย. งานดีดีแบบนี้ห้ามพลาด!!!

กระทรวงสาธารณสุข จับมือ สปสช.และเครือข่ายคลินิกโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นฯ ผนึกพลังสานต่อเป้าหมาย “เพิ่มเครือข่ายปฐมภูมิ เพิ่มโอกาสเข้าถึงการรักษา”

ครบรอบ 16 ปี การจัดตั้งเครือข่ายคลินิกโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่าย ถอดบทเรียนความสำเร็จการทำงานแบบเครือข่ายที่ได้รับความร่วมมือจากสถานพยาบาลขนาดต่าง ๆ พร้อมชูพันธกิจปี 2564 “สานต่อเป้าหมาย เพิ่มเครือข่ายสู่ปฐมภูมิ” เพื่อให้ผู้ป่วยโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีโอกาสเข้าถึงการรักษาที่มีมาตรฐานเดียวกัน โดยไม่ต้องเดินทางเข้ามารักษาในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ช่วยลดความแออัดของจำนวนผู้ป่วยในโรงพยาบาล

นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมา สะท้อนว่า ระบบสุขภาพปฐมภูมิมีความสำคัญมาก เพราะเป็นหน่วยบริการสุขภาพที่สามารถเข้าถึงประชาชนได้ใกล้ชิดที่สุด อาทิ คลินิกหมอครอบครัว (PCC) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิให้มีความเข้มแข็ง มีศักยภาพมากขึ้น และมีการทำงานแบบบูรณาการและเชื่อมโยงกับทุกภาคส่วน ขณะนี้กระทรวงฯ ให้ความสำคัญกับระบบสุขภาพปฐมภูมิ ทั้งทางนโยบายระบบสุขภาพปฐมภูมิเข้มแข็ง และระบบบริการก้าวหน้า โดยหน่วยบริการปฐมภูมิเป็นด่านแรกที่ประชาชนสามารถเข้าถึงการรักษาอย่างมีคุณภาพ และเชื่อว่าหากประเทศไทยมีระบบสุขภาพปฐมภูมิที่แข็งแกร่ง จะสนับสนุนให้ประชาชนแข็งแรง เศรษฐกิจแข็งแรง ประเทศไทยแข็งแรง หากบุคลากรทางการแพทย์ให้เวลาดูแลผู้ป่วยมากขึ้น ผู้ป่วยก็จะคืนเวลากลับมาให้ และทำให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น ตัวอย่างเช่น หากผู้ป่วยโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังสามารถเดินทางไปรักษาไปที่สถานพยาบาลใกล้บ้านได้ เช่น PCC หรือ รพ.สต. ก็ไม่ต้องแอดมิทหรือเดินทางไกลมาที่โรงพยาบาล ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายและทำให้มีความสุขมากขึ้น  สิ่งสำคัญ คือ Trust ทุกฝ่ายต้องช่วยกันสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาให้กับประชาชนว่าหน่วยปฐมภูมิสามารถดูแลได้ และโรงพยาบาลใหญ่จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดความเชื่อมั่นและศรัทธากับหน่วยปฐมภูมิได้”

นพ.จักรกริช โง้วศิริ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า สำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีหน้าที่หลักในการจัดทำระบบประกันสุขภาพเพื่อให้คนไทยทุกคนเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ซึ่งหัวใจสำคัญของการดูแลผู้ป่วยโรคนี้มีองค์ประกอบอยู่ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 โอกาสการเข้าถึงของประชาชน ทำอย่างไรให้ประชาชนสามารถเข้าถึงระบบบริการที่มีมาตรฐาน อาทิ ความพยายามในการขยายเครือข่ายคลินิกโรคหืดและปอดอุดกั้น ที่กำลังทำอยู่นี้ ส่วนที่ 2 ประสิทธิภาพของระบบบริการ ทำอย่างไรให้เกิดการบริหารงบประมาณแผ่นดินเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ สามารถเข้าถึงทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน และส่วนที่ 3 การจัดระบบบริการให้มีคุณภาพมากขึ้น ทิศทางของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะมุ่งเน้นการส่งเสริมป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดโรคควบคู่ไปกับการดูแลรักษา โดยอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ส่วนท้องถิ่น ประชาชนและองค์กรกิจการเพื่อสังคม ระบบปฐมภูมิจะเป็นด่านแรกที่สำคัญในระบบสาธารณสุข ซึ่งต้องมีการบริหารจัดการทรัพยากรในแต่ละพื้นที่โดยทีม
สหวิชาชีพ เพื่อทำให้เกิดเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยและระบบการส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ต้องอาศัยเทคโนโลยีเพื่อปรับระบบการบริการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อลดความแออัดของคนไข้ในโรงพยาบาล เช่น โครงการรับยาใกล้บ้าน การส่งยาทางไปรษณีย์ ระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) และการมีคลินิกย่อย ๆ ที่จะตอบสนองความต้องการและเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างแท้จริง”

รศ.นพ.วัชรา บุญสวัสดิ์ ประธานเครือข่ายคลินิกโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่าย (Easy Asthma and COPD Clinic Network: EACC) กล่าวว่า คลินิกโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอย่างง่ายก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2547 ด้วยความตั้งใจที่จะพัฒนาโรงพยาบาลทั่วประเทศที่ไม่มีแพทย์เฉพาะทาง ให้สามารถดูแลผู้ป่วยโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ตามมาตรฐานในระดับสากล ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และช่วยลดผลกระทบต่อทั้งครอบครัวและสังคม ปัจจุบันเครือข่ายฯ มีสมาชิกกว่า 1,400 แห่งทั่วประเทศ ทำให้ผู้ป่วยในทุกภูมิภาคสามารถเข้าถึงการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ และลดอัตราการกำเริบรุนแรงจนต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล โดยในปี 2553-2557 มีจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาและนอนในโรงพยาบาลลดลงมากกว่า 30%  และในปี 2558 – 2560 ที่มีการขยายเครือข่ายไปสู่ระดับปฐมภูมิ พบว่ามีการลดอัตราการกำเริบของผู้ป่วยได้มากกว่าเดิมอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเป็นความสำเร็จที่เกิดจากความร่วมมือของสหวิชาชีพทุกฝ่าย ที่ปรารถนาให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ในปี 2558-2562 อัตราการรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลของโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากสาเหตุหลาย ๆ ปัจจัย

ปีนี้เครือข่ายฯ มีพันธกิจ “สานต่อเป้าหมาย เพิ่มเครือข่ายสู่ปฐมภูมิ” คือเน้นส่งเสริมให้สถานบริการสาธารณสุขหรือสมาชิกเครือข่ายฯ ที่ดำเนินงานคลินิกโรคหืดฯ ที่ได้มาตรฐานอยู่แล้ว เป็นโมเดลในการขยายรูปแบบและแนวทางการรักษาไปสู่ระบบบริการปฐมภูมิ หรือ PCC (Primary Care Cluster) ณ สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน อาทิ คลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และร้านขายยาคุณภาพ เพื่อให้สามารถเข้าถึงผู้ป่วยในทุกพื้นที่ได้มากขึ้น และยังสามารถส่งต่อผู้ป่วยที่สามารถควบคุมอาการกำเริบของโรคได้แล้ว ไปยังสถานบริการเหล่านี้ เพื่อช่วยให้การรักษาสะดวกขึ้น ลดภาระค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทาง คุณภาพชีวิตก็จะดีขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยลดความแออัดของโรงพยาบาล ทำให้สามารถรองรับผู้ป่วยโรคอื่น ๆ ได้มากขึ้น ดังตัวอย่างความสำเร็จของ EACC ขอนแก่นโมเดล ที่ได้ส่งต่อองค์ความรู้และแนวทางการดำเนินงานไปยังสถานพยาบาลปฐมภูมิที่อื่นต่อไป

การประชุมใหญ่เครือข่ายคลินิกโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอย่างง่ายประจำปีครั้งที่ 16 มีบุคลากรทางการแพทย์เข้าร่วมประชุมกว่า 500 คน รวมกับผู้ที่ลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ นอกจากนี้ ยังมีการถ่ายทอดสด Live Streaming ผ่านเฟซบุ๊กเพจเครือข่ายคลินิกโรคหืดฯ สำหรับผู้ที่สนใจอีกด้วย ผู้เข้าร่วมการประชุมต่างได้รับองค์ความรู้ใหม่ ๆ ตามแนวทางการรักษาในระดับสากลที่มีการปรับเปลี่ยนไปในแต่ละปี ได้แลกเปลี่ยนและศึกษาแนวทางการทำคลินิกโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังอย่างได้ผล รวมทั้งได้เรียนรู้เครื่องมือใหม่ E-Learning EACC online ที่จะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถเข้าถึงข้อมูลการดูแลรักษาผู้ป่วยได้ทุกที่ทุกเวลา เพื่อนำไปพัฒนาคลินิกโรคหืดฯ ในสถานพยาบาลของตน และบรรลุเป้าหมายของเครือข่ายฯ ในการลดอัตราการกำเริบเฉียบพลันของโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง เพราะโรคทั้งสองชนิดนี้สามารถควบคุมไม่ให้กำเริบได้ หากมีการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม